วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไฟไหม้ป่านับ 2,000 ไร่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง




ไฟไหม้ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จ.ตาก (ไอเอ็นเอ็น)

มีรายงานข่าวจากชายแดนไทย - พม่า เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอุ้มผาง เขตติดต่อเขต อนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ได้เกิดกลุ่มควันซึ่งมองจากบริเวณด้านหน้าของสำนักงานทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก ต.แม่ละมุ้ง อ.อุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากตัวอำเภออุ้มผาง ประมาณ 40 กิโลเมตร สืบเนื่องจากเกิดไฟไหม้ลุกลามในพื้นที่เขตรอยต่อระหว่างเขตพื้นที่ ตำบลแม่ระมุ้งและเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ในพื้นที่ตำบลโมโกร ซึ่งไฟป่าได้โหมไหม้ลุกลามกินเนื้อที่เป็นบริเวณกว้างประมาณกว่า 2,000 ไร่ โดยไฟป่าที่เกิดขึ้นครั้งนี้ทำให้สัตว์ป่าต้องหนีกันจ้าละหวั่น ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงหากไม่สามารถสกัดหรือดับไฟฟ่าครั้งนี้ได้

ขณะเดียวกันได้เกิดไฟป่าขึ้นในพื้นที่เขตดอยโตน ประเทศพม่า และไหม้ลุกลามเข้ามาในพื้นที่เขตตำบลหนองหลวง พื้นที่ประเทศไทย ที่อยู่ด้านฝั่งตรงข้ามชายแดนประเทศพม่า และลุกลามเป็นบริเวณกว้างคลอบคลุมไปทั่วพื้นที่ ทำให้เกิดหมอกควันปกคลุม ทั่วพื้นที่ตำบลโมโกร หนองหลวงและตำบลอุ้มผาง ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะ 200 เมตร

แหล่งข่าวจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) คนหนึ่งใน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก กล่าวว่าขณะนี้สถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ได้ลุกลามสร้างความเสียหายให้กับป่าไม้ ทั้งในพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าและเกิดหมอกควันปกคลุมทั่วพื้นที่อำเภออุ้มผาง ทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ขณะนี้เริ่มส่งผลกระทบต่อเด็กๆ ในพื้นที่ เริ่มมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ซึ่งตนเข้าใจว่าส่วนหนึ่งมาจากการเกิดมลภาวะทางอากาศดังกล่าว ซึ่งขณะนี้การแก้ไขปัญหามีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดับไฟป่า ที่ปฏิบัติงานกันอยู่ในพื้นที่อย่างเต็มความสามารถแต่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความไม่พร้อมทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ในการดับไฟและจำนวนบุคลากรและงบประมาณ ไม่สามารถควบคุมไฟป่าในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงเพียงหวังให้ทางราชการและผู้บริหารระดับสูงที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาช่วยดูแลแก้ไข เพราะขณะนี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เริ่มได้รับผลกระทบจากการเกิดไฟป่าในพื้นที่แล้ว

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

น้ำท่วมกรุงเทพ

น้ำท่วมกรุงเทพ


สถานการณ์น้ำท่วมใน หลายจังหวัดยังคงน่าเป็นห่วง ขณะที่ กทม. ใน 13 เขต ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเสี่ยงน้ำท่วม โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค. เป็นต้นไป ทั้งนี้ล่าสุดระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังคงต้องจับตา อยุธยา-ปทุมธานี-นนทบุรี เสี่ยงน้ำท่วมด้วยเช่นกัน
สถานการณ์ น้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณวังปลา วัดหงษ์ปทุมวาส จ.ปทุมธานี ซึ่งมีชาวบ้านช่วยกันนำกระสอบบรรจุทรายมาเสริมแนวกั้นน้ำบริเวณรอบวัด ด้าน จ.นนทบุรี บ้านเรือนของชาวบ้านในพื้นที่เกาะเกร็ด ถูกน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร แต่โชคดีที่ชาวบ้าน ได้เตรียมพร้อมรับมือโดยการขนย้ายสิ่งของไปไว้บนที่สูง ขณะที่การสัญจรเป็นไปอย่างยากลำบาก
นอก จากนี้ ประชาชนยังต้องระวังสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งหนีน้ำขึ้นมาอาศัยอยู่บนบ้านเรือน เช่นเดียวกับที่พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำในแม่น้ำน้อยเพิ่มสูงขึ้นเอ่อเข้าท่วมตลาดบ้านแพน ขณะที่ประชาชนก่อบังเกอร์ป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าบ้าน และต้องนอนเฝ้าตลอดทั้งคืน เนื่องจากมีน้ำซึมผ่านตลอดเวลา และเกรงว่าบังเกอร์จะถูกน้ำกัดเซาะพังเสียหาย ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมใน อ.สรรพยา จ.ชัยนาท หลังน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยายังหนุนสูงไหลทะลักผ่านแนวกั้นเข้าท่วมหลาย พื้นที่ จนชาวบ้านต้องอพยพมาศัยอยู่บนท้องถนนชั่วคราว
สถานการณ์ น้ำท่วมในหลายจังหวัดยังคงน่าเป็นห่วง สาเหตุที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งนี้ เนื่องจากเกิดภาวะฝนตกหนัก ติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเข้าขั้นวิกฤติ มีปริมาณน้ำเกินกว่าระดับกักเก็บไว้ได้ และจำเป็นต้องระบายน้ำออกจากเขื่อน ทำให้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนทางภาคเหนือไหลลงมายังแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบกับช่วงวันที่ 24-27 ตุลาคม เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุน ด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้กรุงเทพฯ จมอยู่ใต้บาดาลได้